เริ่มผลักดันให้มีร่างพระราชบัญญัติวิชาชีพการสาธารณสุข พ.ศ. …. นานหลายทศวรรษ โดยกลุ่มเครือข่ายหมออนามัยและเจ้าหน้าที่สาธารณสุข ภายหลัง ปี พ.ศ. 2550 สนช.ไม่รับหลักการร่างพระราชบัญญัติ ฉบับดังกล่าวจึงตกไป จนถึงเมื่อวันที่ 19 สิงหาคม 2552 โดยการนำของ นายไพศาล บางชวด พร้อมด้วยผู้แทนประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้ง จำนวน 14,892 คน ร่วมกันเข้าชื่อเสนอให้มี ร่างพระราชบัญญัติวิชาชีพการสาธารณสุข พ.ศ. …. ฉบับประชาชน พร้อมกับ ร่างพระราชบัญญัติวิชาชีพการสาธารณสุข พ.ศ. …. ที่มีลักษณะดังกล่าว รวม 4 ฉบับ เสนอโดยคณะรัฐมนตรี และเสนอโดย ส.ส. จากพรรคประชาธิปัตย์ พรรคเพื่อไทย และพรรคภูมิใจไทย ซึ่งแต่ละฉบับมีเนื้อหาต่างกันไป การพิจารณาจึงพิจารณาร่างทั้ง 4 ฉบับ รวมกันและเดินทางอยู่หลายปีจนผ่านขั้นสภาผู้แทนราษฎร ผ่านวุฒิสภา แต่เนื่องจากสองสภามีความเห็นไม่ตรงกันในบางประเด็น ร่างพระราชบัญญัติฉบับนี้จึงนำไปสู่ขั้นตอนการพิจารณาของคณะกรรมาธิการวิสามัญร่วมสองสภา ร่างกฎหมายฉบับที่ประชาชนเสนอ ถูกผสมรวมกับร่างอีก 3 ฉบับ และถูกปรับปรุงในขั้นตอนต่าง ๆ ไปมาก จนร่างฉบับล่าสุดมีชื่อว่า ร่างพระราชบัญญัติวิชาชีพการสาธารณสุขชมชน พ.ศ. …. และมีรายละเอียดหลายประการเปลี่ยนแปลงไป รวมทั้งคำนิยามของ คำว่า “วิชาชีพการสาธารณสุขชุมชน” ก็ถูกแก้ไขไปมาก แม้ในบางประเด็นประชาชนผู้เสนอกฎหมายจะไม่เห็นด้วยกับการแก้ไข แต่อย่างไรก็ตามจากความพยายามต่อเนื่องตลอดหลายสิบปีที่ผ่านมาประชาชนก็ยังเฝ้ารอให้กฎหมายที่จะรองรับความเป็นวิชาชีพของผู้ให้บริการด้านสาธารณสุขคลอดออกมาและใช้ได้จริง โดยที่ประชุมสภาผู้แทนราษฎรมีมติเป็นเอกฉันท์ 382 เสียง (ไม่มีเสียงคัดค้าน) เห็นชอบให้บัญญัติร่างพระราชบัญญัติวิชาชีพการสาธารณสุขชุมชน พ.ศ. …. ไว้เป็นกฎหมาย เมื่อวันที่ 2 ตุลาคม 2556 ถือเป็นวัตนำนานทางประวัติศาสตร์ของหมออนามัย “ร้อยปีสาธารณสุขไทย..หมออนามัยสู้ชนะ”